ทั้งนี้ ไบรอัน บราวน์ เปิดเผยว่า แมลงวันตัวดังกล่าวเป็นเพศเมีย ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แม้จะเอามันไปวางบนแผ่นสไลด์ของกล้องจุลทรรศน์ก็ตาม

สำหรับแมลงวันพันธุ์ใหม่นี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ยูรีพลาเทีย นานักนีฮาลี (Euryplatea nanaknihali)” มีปีกสีเทาและมีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตร เท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า ขนาดของแมลงวันชนิดนี้มีขนาดเพียงแค่ครึ่งเดียวเท่านั้นของแมลงดูดเลือดจำพวกริ้นน้ำเค็ม
นอกจากนั้น จุดเด่นของแมลงวันชนิดนี้คือ ตัวแมลงวันนั้นจะวางไข่ในลำตัวมดขณะที่มดยังมีชีวิตอยู่ พอไข่ฟักตัว ตัวอ่อนก็จะคลานไปยังส่วนหัวของมดเพื่อดูดสารอาหารจากกล้ามเนื้อและสมองของมด จนทำให้มดสูญเสียการควบคุมร่างกายและหัวมดก็จะหลุดออกมา
หลังจากนั้น ตัวอ่อนจะอาศัยในหัวที่ขาดออกของมดตัวนี้เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ก่อนจะเจริญเติบโตเต็มวัย ซึ่งมีพฤติกรรมวางไข่ตามตัวมดคล้ายกับ แมลงวันตัดหัวมด ที่พบในประเทศอิเควทอเรียลกินี ของทวีปแอฟริกา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น